Image

ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2566 กำหนดว่าทางหลวงหรือถนน ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ที่ตัดผ่านพื้นที่ดังตารางที่ 8-1 ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ผลจากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า แนวเส้นทางโครงการบริเวณ กม.371+300 ถึง กม.383+500 รวมระยะทางประมาณ 12.20 กิโลเมตร ได้มีการจัดทำรายงาน EIA เสนอ สผ. เนื่องจากตัดผ่านพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2 โดยได้รับมติให้ความเห็นชอบรายงานฯ ดังกล่าว ลงดังหนังสือ เลขที่ ทส 1010.4/9839 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ส่วนแนวเส้นทางโครงการบริเวณ กม.343+554 ถึง กม.371+300 และกม.383+500 ถึง กม.396+784 ที่ยังไม่มีการจัดทำรายงาน EIA จากการตรวจสอบระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และหนังสือตอบกลับจาก สผ. เลขที่ ทส.1008.6/9760 ลงวันที่ 18 เมษายน 2568 พบว่า แนวเส้นทางโครงการบางบริเวณตัดผ่านพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2 ดังนั้น จึงเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ผลการตรวจสอบพื้นที่ศึกษาโครงการเบื้องต้น

 ลำดับ

พื้นที่ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2566

ผลการตรวจสอบเบื้องต้น*

20

 

 

 

 

 

 

 

ทางหลวงหรือถนน ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ที่ตัดผ่านพื้นที่ดังต่อไปนี้

20.1 พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

 ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า แนวเส้นทางโครงการไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่ดังกล่าว

20.2 พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ

ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า แนวเส้นทางโครงการไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่ดังกล่าว 

20.3 พื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2

ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และหนังสือตอบกลับจาก สผ. เลขที่ ทส.1008.6/9760 ลงวันที่ 18 เมษายน 2568  พบว่า แนวเส้นทางโครงการตัดผ่านพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2 (ดังรูปที่ 1-1) 

20.4 พื้นที่ป่าชายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

 ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า แนวเส้นทางโครงการไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่ดังกล่าว

20.5 พื้นที่ชายฝั่งทะเลในระยะ 50 เมตร ห่างจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติทางธรรมชาติ

ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า แนวเส้นทางโครงการไม่ได้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว 

 20.6 พื้นที่ที่อยู่ในหรือใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลก
ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศในระยะทาง 2 กิโลเมตร

ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า แนวเส้นทางโครงการ และพื้นที่ศึกษาข้างละ 2 กิโลเมตร ไม่ได้ตัดผ่านหรืออยู่ใกล้พื้นที่ดังกล่าว

 

20.7 พื้นที่ที่ตั้งอยู่ใกล้โบราณ แหล่งโบราณคดีแหล่งประวัติศาสตร์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในระยะทาง 1 กิโลเมตร ยกเว้นถนนผังเมืองตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง 

ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า แนวเส้นทางโครงการ และพื้นที่ศึกษาข้างละ 1 กิโลเมตร ไม่ได้ตัดผ่านหรืออยู่ใกล้พื้นที่ดังกล่าว 

33

โครงการทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้ มีมติเห็นชอบกำหนดให้ เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1

ข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า แนวเส้นทางโครงการไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่ดังกล่าว

หมายเหตุ : *อยู่ระหว่างการตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

แนวทางการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ

แนวทางการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการจะเริ่มจากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เพื่อประกอบการคัดกรองปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นรายละเอียด (EIA) (ดังรูปที่ 1) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE)

การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นเป็นการพิจารณาประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับประกอบการพิจารณาคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมของโครงการ และประกอบการพิจารณาคัดกรองปัจจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปศึกษาต่อในขั้นรายละเอียด (EIA)

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  • เพื่อตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ หรืออาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงการ
  • เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้นจากการพัฒนาโครงการ
  • เพื่อพิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมของโครงการ
  • เพื่อคัดเลือกปัจจัยสิ่งแวดล้อมสำหรับศึกษาต่อในขั้นรายละเอียด (EIA)

ขอบเขตของการศึกษา

  • ครอบคลุมข้างละ 500 เมตร จากกึ่งกลางแนวเส้นทางโครงการ
  • ระยะ 1 กิโลเมตร สำหรับการศึกษาด้านโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
  • ระยะ 2 กิโลเมตร สำหรับการศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ

8-1รูปที่ 1 แนวทางการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ

• แนวทางการศึกษา

  • แนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการทางหลวง (Guidelines for Preparation of Environmental Impact Statement of A Road Scheme : ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 9 พฤศจิกายน 2567) ของกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานแผนงาน กรมทางหลวง
  • แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางหลวงหรือถนนและระบบทางพิเศษ ของ สผ.
  • แนวทางการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจสังคม สิงหาคม 2566 ของ สผ.

• ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นที่ทำการศึกษา

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นที่ทำการศึกษาจะพิจารณาตามแนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการทางหลวง (Guidelines for Preparation of Environmental Impact Statement of A Road Scheme : ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 9 พฤศจิกายน 2567) ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักแผนงาน กรมทางหลวง ซึ่งครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต รวมทั้งหมด 29 ปัจจัย ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นที่ทำการศึกษา

ด้านกายภาพ

ด้านชีวภาพ

ด้านคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

ด้านคุณภาพชีวิต

1. ภูมิสัณฐาน

2. ทรัพยากรดิน

3. ธรณีวิทยา
และธรณีพิบัติภัย

4. น้ำผิวดิน

5. น้ำใต้ดิน

6. น้ำทะเล

7. อากาศและบรรยากาศ

8. เสียง

9. ความสั่นสะเทือน

1. นิเวศวิทยาทางบก

2. นิเวศวิทยาทางน้ำ

 

1. น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค

2. การคมนาคมขนส่ง

3. สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

4. การควบคุมน้ำท่วมและการระบายน้ำ

5. การเกษตรกรรม

6. นันทนาการ

7. การใช้ที่ดิน

 

1. เศรษฐกิจ-สังคม

2. การโยกย้ายและการเวนคืน

3. การสาธารณสุข

4. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

5. การแบ่งแยก

6. อุบัติเหตุและความปลอดภัย

7. ความปลอดภัยในสังคม

8. สุขาภิบาล

9.. ผู้ใช้ทาง

10. โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี 
ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม
และมรดกทางวัฒนธรรม

11. สุนทรียภาพและทัศนียภาพ

 

ที่มา :  แนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการทางหลวง (Guidelines for Preparation of Environmental Impact Statement of A Road Scheme : ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 9 พฤศจิกายน 2567)  ของกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานแผนงานกรมทางหลวง

วิธีการศึกษา

  • รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ และสำรวจภาคสนามเบื้องต้น
  • ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นด้วยวิธี Leopold Matrix ครอบคลุมระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
  • กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั่วไป
  • สรุปปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ เพื่อนำไปศึกษาต่อในขั้นรายละเอียด (EIA)

ขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นรายละเอียด (EIA)

ผลจากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า แนวเส้นทางโครงการบริเวณ กม.371+300 ถึง กม.383+500 รวมระยะทางประมาณ 12.20 กิโลเมตร ได้มีการจัดทำรายงาน EIA เสนอ สผ. เนื่องจากตัดผ่านพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2 โดยได้รับมติให้ความเห็นชอบรายงานฯ ดังกล่าว ลงดังหนังสือ เลขที่ ทส 1010.4/9839 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2564

ส่วนแนวเส้นทางโครงการบริเวณ กม.343+554 ถึง กม.371+300 และกม.383+500 ถึง กม.396+784 ที่ยังไม่มีการจัดทำรายงาน EIA จากการตรวจสอบระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เบื้องต้น อาจตัดผ่านพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 2 ซึ่งเข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน EIA

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  • เพื่อสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมปัจจุบันที่คาดว่าอาจจะได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ หรืออาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงการ
  • เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในกรณีที่ไม่มีการพัฒนาโครงการ และกรณีที่มีการพัฒนาโครงการ ครอบคลุมระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
  • เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
  • เพื่อกำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
  • เพื่อกำหนดแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้างและระยะดำเนินการ

ขอบเขตของการศึกษา

  • ครอบคลุมข้างละ 500 เมตร จากกึ่งกลางแนวเส้นทางโครงการ
  • ระยะ 1 กิโลเมตร สำหรับการศึกษาด้านโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
  • ระยะ 2 กิโลเมตร สำหรับการศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ

แนวทางการศึกษา

  • แนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการทางหลวง (Guidelines for Preparation of Environmental Impact Statement of A Road Scheme : ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 9 พฤศจิกายน 2567) ของกลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานแผนงาน กรมทางหลวงทางหลวง
  • แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประเภทโครงการคมนาคมทางบก ของ สผ.
  • แนวทางการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจสังคม สิงหาคม 2566 ของ สผ.

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ทำการศึกษา

ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ทำการศึกษาจะพิจารณาจากผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) โดยปัจจัยที่มีระดับของผลกระทบทางลบตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป และค่าความสำคัญของผลกระทบตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป จะนำไปศึกษาต่อในขั้นการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นรายละเอียด (EIA)


วิธีการศึกษา

  • รวบรวมข้อมูลสภาพสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน สำรวจภาคสนาม และเก็บตัวอย่างในพื้นที่
  • ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในกรณีที่ไม่มีการพัฒนาโครงการ และกรณีที่มีการพัฒนาโครงการ ครอบคลุมระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
  • กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
  • กำหนดมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ
  • กำหนดแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ